วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคที่เกิดจากแฟลกเจลเลต - ไจอาร์ดิเอซิส

1.ไจอาร์ดิเอซิส (Giardiasis)
       เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อปาราสิตชนิด Giardia lambia เชื้อปาราสิตนี้พบได้ทั่วไปในโลก โดยเฉพาะ ประเทศที่อยู่ ในเขตร้อน และพบใน เด็กเป็นส่วนมาก มักพบ ระบาดเป็นครั้งคราว ในหมู่ เด็กเล็ก หรือในกลุ่ม เด็กนักเรียน บางครั้งพบ ระบาดในหมู่ นักท่องเที่ยว และปัจจุบัน พบระบาดมาก ขึ้นในกลุ่ม รักร่วมเพศและ ผู้ป่วยที่มี ภูมิคุ้มกันต่ำ (hypogammaglobulinemia) และผู้ป่วยที่มี พยาธิสภาพของ ลำไส้แบบ nodular lymphoid hyperplasia เชื้อปาราสิต ชนิดนี้มีรูปร่าง 2 แบบ คือ trophozoite และ cyst ซึ่งระยะ cyst นี้ สามารถทน ต่อภาวะ การเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิและ ความเป็น กรดด่าง ของสิ่งแวดล้อม ที่มันอาศัยอยู่ ตรวจพบระยะ cyst ได้ใน อุจจระของ ผู้ป่วยและ คนปกติทั่วไป บางคนเชื่อว่า ปาราสิตชนิด นี้ไม่ทำให้ เกิดโรคใน คน จากการ สังเกตุพบว่า ผู้ป่วยที่ตรวจ พบเชื้อปาราสิต ชนิดนี้ เมื่อได้รับ ยาฆ่าเชื้อจน ไม่พบเชื้อใน อุจจระแล้ว อาการต่างๆ ที่ปรากฎก็หายไป
วงจรชีวิต
วงจรชีวิตของ Giardia lambia
ที่มา : http://www.cdc.gov/dpdx/giardiasis/ (12 Jul 2014)

     ปรสิตชนิดนี้มี 2 ระยะ คือระยะโทรโฟซอยต์และระยะซิสต์ ระยะโทรโฟซอยต์จะมีลักษณะกลมทางด้านหน้าและเรียวแหลมลงมาด้านท้ายของเซลล์ ด้านหน้าของเซลล์จะแบนส่วนด้านหลังจะโค้งนูน มีขนาดกว้าง 5-15 ไมโครเมตร และยาว 9.5-21 ไมโครเมตร มีแฟลกเจลลาทั้งหมด 4 คู่ เนื่องจากนิวเคลียสที่อยู่เป็นคู่กันประกอบกับการมีแผ่นดูดทำให้ปรสิตชนิดนี้เมื่อถูกย้อมสีแล้วศึกษาดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะดูคล้ายคนใส่แว่นตาจ้องตอบมา ระยะซิสต์มีลักษณะเป็นรูปไข่ ขนาดกว้าง 7-10 ไมโครเมตร และยาว 8-12 ไม่มีแฟลกเจลลัมอิสระซิสต์อ่อนมีนิวเคลียส 2 ก้อน แต่ซิสต์แก่ซึ่งเป็นระยะติดต่อจะมีนิวเคลียส 4 ก้อน

ระยะโทรโฟซอยต์ของ G. lamblia
ระยะซิสต์ของ G. lamblia
อาการและอาการแสดง
       อาการที่เกิด กับเด็ก ย่อมแตกต่าง ไปจากผู้ใหญ่ โดยเฉพาะ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับ การเจริญเติบโต ผู้ป่วยจะมี อาการปวดท้อง ในเด็กเล็ก อาการปวดท้อง มักแตกต่างกันไป อาจรู้สึก ปวดท้อง เล็กน้อย บริเวณ ยอดอก จนถึงปวดบิด (colic) บางครั้ง เกิดปวดทันที หลังทานอาหาร บางคน อาจกดเจ็บ บริเวณ ท้องพร้อมกับ มีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียรร่วมด้วย
       สำหรับอาการ ท้องร่วง มักเป็นครั้งคราว หรือสลับกับ ท้องผูก ได้บ่อยๆ โดยทั่วไป อุจจระมี กลิ่มเหม็น และเหลว บางคนอาจ ถ่ายอุจจระมี มูกปนหรือ มีเลือดปนเล็กน้อย บางคน ท้องร่วงมาก อุจจระมี ไขมันเกินปกติ (steatorrhea หรือ fatty diarrhea) ใน ผู้ป่วยเด็ก อาจทำให้ การดูดซึมอาหาร ผ่านลำไส้ไม่ดี โดยเฉพาะ D-xylose เกิดภาวะทุโภชนาการ (malnutrition) มีอาการซีด โลหิตจาง น้ำหนักลด ทำให้มี การเจริญเติบโตช้า
       บางรายอาจมีแค่ อาการตัวเหลือง และมีโรคถุงน้ำดี หรือท่อน้ำดีอักเสบ บางคนมี อาการเพียงรู้สึก ท้องอืด ท้องแน่น หรือมีเสียง ครืดคราด ในท้องเท่านั้น และบางคน มาด้วยอาการ คลื่นไส้ อาเจียร เพียงอย่างเดียว เมื่อรักษาด้วยยา อาการ ดังกล่าว ก็หายไป ผู้ป่วยเหล่านี้ พบว่าภูมิต้านทาน ชนิด IgA มักจะ ต่ำกว่าปกติ และสูงขึ้น เมื่อโรคหาย และพบ ภูมิต้านทาน ชนิด IgG ต่อเชื้อ G.lambia ขึ้นสูง แต่ไม่มีผล ในด้านการป้องกัน การเกิดระยะ ติดเชื้อเรื้อรัง

พยาธิสภาพ
       โรค giardiasis ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงใน villi ของเยื่อบุผิว ลำไส้เล็ก ซึ่งอาจมี การเปลี่ยนแปลง น้อยมาก จนถึง การเปลี่ยนแปลง ที่มีการ หดสั้นลง และหนาขึ้น ของ villi พร้อมกับ พบ เซลล์อักเสบ ชนิด neutrophils และ eosinophils เชื้อระยะ Trophozoites พบได้ในบริเวณ ที่มีการอักเสบ เหล่านี้ พยาธิสภาพ เช่นนี้ทำให้ การดูดซึมอาหาร ผ่านทางเยื่อบุผนัง ลำไส้เป็นไป ด้วยความลำบาก เกิดภาวะ ที่เรียกว่า malabsorption บางราย (41-47%) พบพยาธิสภาพ ในลำไส้ซึ่ง เป็นผลตามมา คือ nodular lymphoid hyperplasia

การวินิจฉัย
       โดยการตรวจหา cyst จากอุจจระของผู้ป่วย ในรายที่ ท้องร่วงอย่าง รุนแรงจะพบ trophozoite ในอุจจระได้ นอกจากนี้ สามารถตรวจหา เชื้อจากน้ำย่อย ในลำไส้เล็กส่วนต้น ที่ได้จากการ ใช้สายยางสวน หรือ ตรวจหาจาก น้ำดี การขูดผิวผนัง สำไส้โดยใช้ กล้องส่องลำไส้เล็ก เพื่อตรวจหา ทางเซลล์วิทยา หรือ ตัดชิ้นเนื้อผนัง ลำไส้เล็ก เพื่อตรวจหา พยาธิสภาพ และเชื้อด้วย กล้องจุลทรรศน์ นอกจากนี้ การตรวจทาง อิมมูนวิทยา เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ใช้ช่วยใน การวินิจฉัยเช่น วิธี indirect fluorescent antibody (IFA), enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) เป็นต้น

การรักษา
       ไม่ควรรักษาด้วยตนเองควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องและปลอดภัย การรักษาทำได้โดยการให้ยา quinacrine หรือ metronidazole ซึ่งจะสามารถรักษาโรคนี้ได้ภายใน 7 วัน แต่การรักษาควรทำพร้อมกันทั้งครอบครัว เพื่อป้องกันการติดเชื้อครั้งใหม่ ในระหว่างสมาชิกภายในครอบครัวเดียวกัน การให้ยา quinacrine ทำได้โดยปริมาณยาที่ให้ในผู้ใหญ่คือ ครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ส่วนในเด็กให้ ครั้งละ 2 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ส่วน metronidozole ให้แบบเดียวกันกับ quinacrine แต่ปริมาณยาที่ให้ในผู้ใหญ่คือ ครั้งละ 250-400 มิลลิกรัม ในเด็กให้ครั้งละ 2 มิลลิกรัม นอกจากยาทั้งสองชนิดนี้แล้วยังมียาอีกชนิดหนึ่งคือ tinidazole ซึ่งในเด็กให้ยาในปริมาณ 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้ยาเพียงครั้งเดียว ซึ่งยาชนิดนี้ให้ผลการรักษาร้อยละ 96.1 แต่มีผลข้างเคียงคือ อาการปวดศีรษะในผู้ติดเชื้อบางราย

การป้องกัน
       การป้องกันจะขึ้นอยู่กับสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร การตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ นอกจากนี้การจัดการระบบสุขาภิบาล ที่ดีไม่ให้มีการปนเปื้อนของอุจจาระในสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจทำให้มีการปนเปื้อนของระยะซิสต์ของ G. lamblia อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำ ที่ใช้อุปโภคและบริโภค มีรายงานการปนเปื้อนของปรสิตชนิดนี้ในน้ำที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภคในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศรัสเซีย ประเทศอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำประปา เนื่องจากระยะซิสต์สามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำประปาและยังคงมีความสามารถที่จะติดต่อไปยังผู้อื่นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น