วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคที่เกิดจากแฟลกเจลเลต - American trypanosomiasis

4.โรคชากาส,ทริปาโนโซมิเอซิส (Chagas disease,American trypanosomiasis)

อนุกรมวิธาน

       Trypanosome cruzi โปรโตซัวในกลุ่มฟลาเจลเลตที่เป็นปรสิตในเนื้อเยื่อ และระบบหมุนเวียนโลหิต ติดต่อได้ทั้งคนและสัตว์ ทำให้เกิดโรคอเมริกันทริพพาโนโซมิเอสิส

       (American trypanosomasis ) หรือโรคชากาส (Chagas disease) ในคน พบมีการระบาดอยู่ทุกประเทศในแถบลาตินอเมริกา ยกเว้น กัวยานา และคารีเบียน ประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อทั้งสิ้นถึง 16-18 ล้านคน และอีก 90 ล้านคน อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีการระบาดของโรคประเทศบราซิลเป็นประเทศที่มีปัญหากับโรคนี้มากสุด ปัจจุบันมีผู้ป่วยมากกว่าหกล้านคน และหนึ่งในสามของประชากรมีอัตราเสี่ยงต่อการติดโรคนี้สูง อาร์เจนตินามีผู้ป่วยมากกว่าสามล้านคน ชิลี 1.5 ล้านคน และเวเนซูเอลา 1.2 ล้านคน

       แมลงที่สำคัญได้แก่มวนดูดเลือดในแฟมิลี reduviidae ซึ่งมีอยู่สามจีนัสใหญ่ๆ คือ triatoma, rhodnius และ panstrongylus สัตว์ที่เป็นโฮสต์กักตุนโรคมีหลายชนิดทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า ที่สำคัญเช่น สุนัข แมล สุกร นิ่ม โอปัสซัม เป็นต้น ปรสิตที่อยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แบ่งออกได้เป็นสองระยะ คือระยะที่อยู่ในกระแสเลือดซึ่งไม่มีการแบ่งตัวเรียกว่าทริพโพมาสติโกต ( trypomastigote) และระยะที่อยู่ภายในเซลล์เรียกว่า อะสติโกติ(amastigote)ซึ่งเป็นระยะที่มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้


สัณฐานวิทยา

       ปรสิตในกระแสโลหิตคนและสัตว์เป็นระยะไทรโปแมสติโกต ลักษณะโค้งงอเป็นรูปตัว C หรือ S มีไคนีโทพลาสต์ขนาดใหญ่ ; ปรสิตยาวประมาณ 20 ไมโครเมตร มีแฟลเจลลัมอิสระยาว 2-11 ไมโครเมตร ระยะไทรโปโมสติโกตจะไม่แบ่งตัวเพิ่มจำนวน

       ผลการศึกษาในหลอดทดลองนำไปสู่การเสนอวงจรชีวิตของ T. cruzi ว่า เชื้อในกระแสโลหิตคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีสองรูป – เรียวยาว (slender) และอ้วนป้อม ( bord ) เมื่อแมลงพาหะดูดเลือด ไทรโพโปเมสติโกตเปลี่ยนรูปเป็นอะเมสติโกตในลำไส้ส่วนกลาง( midgut ) แบ่งตัวแล้วเปลี่ยนรูปเป็น สเฟียโรแมสติโกตและอิพิแมสติโกตตามลำดับ ซึ่งการแบ่งตัวเช่นเดียวกัน อิพิแมสติโกต ( metacyclic trypomastgote ) ซึ่งเป็นระยะติดต่อ การเจริญเติบโตเป็นระยะติดต่อในแลงพาหะกินเวลา 6-15 วัน

สรีรวิทยา

ระยะที่พบในคนหรือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
      T. cruzi ที่เจริญเติบโตและพบในร่างกายของคนและสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังที่เป็นโฮสต์มีอยู่ 4 ระยะ คือ ( trypomastigote ) from, leishmanial ( amastigote ) from, leptomonad ( promastigote ) from, critidial ( epemastigote ) from ในระยะ Trypomastigote จะพบอยู่ในเลือด ระยะนี้ถือว่าเป็นปรสิตนอกเซลล์ (extracellular parasite) ระยะ trypomastigote ในจำนวนน้อยมาก และมักมีลักษณะคล้ายตัวอักษร C, S, U ลำตัวอาจจะยาวเรียวหรืออ้วนป้อม มีขนาดยาวประมาณ 20 ไมโครเมตร ภายในไซโตพลาสซึมมีพวกเม็ดสี volutin ขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก มีนิวเคลียส 1 อันเป็นก้อนกลมขนาดใหญ่อยู่กึ่งกลางลำตัว จุด kinetoplasast ที่เป็นจุดกำเนิดของหนวดอยู่เกือบปลายด้านท้ายสุดของลำตัวมีขนาดใหญ่มาก


T. cruzi ระยะไทรโปแมสติโกต ที่มีษณะรูปตัว C
ที่มา : 
http://www.uta.edu/chagas/html/biolTcru.html (12 Jul 2014)

Epimastigotic T. cruziที่มา : http://www.uta.edu/chagas/html/biolTcru.html (12 Jul 2014)
Amastigotic T. cruziที่มา : http://www.uta.edu/chagas/html/biolTcru.html (12 Jul 2014)
       ระยะ leishmanial ( amastigote ) จะพบอยู่ภายใน Reticuloendothelial cell ของม้าม ตับ ต่อมน้ำเหลืองและภายในเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจนอกจากนี้ยังอาจจะพบระยะนี้ภายในเซลล์ของระบบประสาท ผิวหนัง ลำไส้ ไขกระดูก และรก ระยะ amastigote นี้ถือว่าเป็นปรสิตที่อยู่ในเซลล์ ( intracellular parasite ) ภายในโฮสต์เซลล์ระยะนี้จะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน บางครั้งอาจจะพบระยะนี้อยู่นอกโฮสต์เซลล์ได้ เนื่องจากโฮสต์เซลล์แตก ขนาดของระยะ leishmanial (promastigote) แต่ละตัวประมาณ 1 -4 ไมโครเมตร นอกจากนี้บางครั้งอาจจะพบระยะ leptomonad (promastigote) และระยะ critidial (epimastigote) ของ T. cruzi ตามช่องว่างระหว่างเซลล์ (interstitial space) ตามอวัยวะต่างๆของผู้ป่วย

T. cruzi ระยะ epimasgote ในลำไส้ส่วนล่างของมวนเพชฆาต เห็นรูปร่างเป็นรูปกระสวยยาว มีนิวเคลียสใหญ่อยู่ตรงกลางลำตัว และมี blepharoplast เป็นจุดเล็กติดสีเข้มอยู่ใกล้กับนิวเคลียส  มีหนวด 1 เส้นอยู่ทางด้านหน้า ซึ่งจะเจริญต่อไปเป็นระยะติดต่อ metacyclicที่มา : http://www.southampton.ac.uk/~ceb/Diagnosis/Vol11.htm (12 Jul 2014)
ระยะที่พบในแมลง

       แมลงที่พบพาหะของ T. cruzi คือ Triatomine bug ( มวนดูดเลือด ) ซึ่งในแมลงที่เป็นพาหะชนิดนี้จะพบระยะ crithidial ( epimastigote ) ที่บริเวณลำไส้ส่วนกลาง ระยะนี้จะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน ที่บริเวณทวารหนักของแมลงจะพบระยะ metacyclic trypomastigote
  


นิเวศน์วิทยา
       แหล่งระบาดของโรค South American Trypanosomiasis อยู่ระหว่างละติจูด เหนือ และ ใต้ โดยอยู่ในประเทศทางทวีปอเมริกาใต้ และอเมริกาเกลาง ซึ่งพบได้ใน บลาซิล อาเจนติน่า อุรุกวัย ปารากวัย ชิลี รวมทั้งในบางพื้นที่ของประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกาตอนใต้ มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อจากการรับโลหิตจากเขตอบอุ่นของอเมริกาเหนือและแคนาดา พาหะของโรคคือ triatomide bug (Panstrongylus megistus ,Triatoma infestans,Rhodnius

       American Trypanosomiasis เป็นโรคที่มีแหล่งระบาดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และอเมริกาเกลางมีผู้ประมาณไว้ว่าประชากรชาวลาตินอเมริกาประมาณ 90 ล้านคน อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีโรคนี้ระบาด และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค แลประมาณ 16-18 ล้านกว่าคนที่ป่วยเป็นโรคนี้

       อัตราของผู้ป่วยโรคนี้จะพบในชาวชนบทมากกว่าในเมือง โดยเฉพาะตามหมู่บ้านที่มีการสร้างบ้านโดยใช้ดินเหนียวพอกทำฝาบ้านแล้วมุ่งหลังคาด้วยหญ้าหรือใบไม้ เพราะตามร่องหรือรอยแตกของวัสดุเหล่านี้เป็นที่อาศัยของ Triatomine bugs วึ่งเป็นพาหะนำโรคนี้ได้อย่างดี

กระบวนการก่อโรค

       การติดต่อของโรคนี้ที่ถือว่ามีความสำคัญในด้านราดวิทยาเกิดจากแมลงพวก เกี่ยวข้องกับคนและสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นโฮสต์เฉพาะหรือโฮสต์สะสมเชื้อ และแมลงพาหะ ได้แก่ มวนเพชฆาตร (assassin bug )

มวนเพชฆาตรซึ่งเป็นแมลงในการเป็นพาหะนำโรคที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type2/health04/06/in04_poisonanimal.html (12 Jul 2014)
       Triatomine bugs ที่เป็นพาหะนำโรคมาดูดเลือดคนแล้วปล่อยระยะ metacyclic trypomastigote ปนออกมากับอุจจาระและระยะนี้ของปรสิตไชเข้าสู่ร่างกายคน Triatomine bugs ที่สำคัญและถือเป็นพาหะหลัก ( maivector ) ของโรคนี้จัดอยู่ใน genus Triatoma, Panstrongylus และ Rhondnius แมลงเหล่านี้ชอบหากินและดูดเลือดอดบริเวณเปลือกตา ริมฝีปาก ในขณะที่แมลงนี้ดูดเลือดจะไม่รู้สึกเจ็บ ดังนั้นแมลงเหล่านี้จึงมักถูกเรียกว่า kissing bugs

       มีรายงานว่าโรคนี้สามารถติดต่อทางน้ำนมจากมารดาที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่าทารกที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อโดยผ่านทางรก การถ่ายเลือด ในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนมากจะรับเอา T. cruzi เจริญเติบโตอยู่เข้าไป

       American Trypanosomiasis ( Chagas disease ) ถือว่าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์ คือ มีพวกสัตว์ที่มีกนะดูกสันหลัง เช่น สุนัข แมว ค้างคาว ตัวกินมด ลิง และสัตว์ฟันแทะ สามารถเป็นโฮสต์สะสมเชื้อของ T. cruzi

วงจรชีวิต (Life Cycle) ของ Typanosoma cruzi

       วงจรชีวิตของ T. cruzi คล้ายกับ trypanosomes ชนิดอื่น คือต้องการโฮสต์ 2 ตัว คือ คนหรือสัตว์ที่มีกระดูก Triatomine bugs สันหลัง เช่น สุนัข แมว ลิง ค้างคาว ตัวกินมดและสัตว์แทะ โฮสต์ตัวที่สอง คือ แมลงพวก Triatomine bugs ( มวนดูดเลือด ) ซึ่งเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสัตว์ไม่มีสันหลัง


วงจรชีวิต Typanosoma cruzi
ที่มา : http://www.cdc.gov/dpdx/trypanosomiasisAmerican/ (12 Jul 2014)
วงจรชีวิตในคน

       เมื่อคนถูก Triatomine bugs ที่มี T. cruzi เจิญเติบโตอยู่มาดูดเลือด แมลงชนิดนี้จะถ่ายอุจจาระซึ่งมีปรสิตระยะ metacyclic trypomastigote ของ T. cruzi ปนออกมาด้วยขณะดูดเลือด เรียกวิธีการที่ปรสิตปะปนออกมากับอุจจาระของแมลงแล้วเข้าสู่ร่างกายคนว่าPosterior stationary ระยะ metacyclic trypomastigote ที่ปนออกมากับอุจจาระจะไชเข้าสู่ร่างกายคนตามรอยถลอกของผิวหนังที่เกิดจากการเกา หรือถ้าบริเวณที่แมลงดูดเลือดแล้วถ่ายอุจจาระอยู่บริเวณริมฝีปาก รูจมูก หรือเปลือกตาของคน ระยะ metacyclic trypomastigote ของ T. cruzi ก็สามารถไชทางเยื่อบุเมือก ( mucous membrane ) ของอวัยวะเหล่านี้ได้ เมื่อระยะนี้ของ T. cruzi บุกรุกเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนัง ( subcutaneous tissue ) ของคนจะถูกจับกินโดยเม็ดเลือดขาวพวก phagocytic cell โดยเฉพาะ macrophage ที่อยู่ตามบริเวณนั้นหรือบางทีระยะนี้ของ T. cruzi จะไชเข้าสู่เซลล์ที่อยู่ในเนื้อเยิ่อที่อ่อนนุ่ม เช่น เนื้อเยื่อไขมัน ( adipos tissue ) ภายในเซลล์ของผู้ป่วยเหล่านี้ระยะ trypomastigote จะเปลี่ยนเป็น amastigote มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนทำให้โฮสต์เซลล์ที่มีปรสิตเข้าไปอาศัยอยู่แตก ทำให้พบระยะ amastigote ออกมาอยู่นอกเซลล์ ซึ่งบางครั้งอาจบุกรุกเข้าไปแบ่งตัวเพิ่มจำนวนใน reticuloendothilial cell ของต่อมน้ำเหลืองที่มีอยู่ใกล้บริเวณนั้น ภายในเซลล์เหล่านี้ ระยะ amastigote มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น และทำลายโฮสต์เซลล์มากขึ้นระยะ amastigote บางตัวที่แตกออกมาจากโฮสต์เซลล์หรือที่อาศัยอยู่ในโฮสต์เซลล์จะไปตามกระแสเลือดและน้ำเหลืองแล้วถูกจับกินหรือบุกรุกเข้าสู่เซลล์ตามอวัยวะต่างๆ เช่น acrophage ที่อยู่ในเนื้อเยื่อของม้าม ตับ เซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจ ลำไส้ และ gila cell ของสมอง ภายในเซลล์เหล่านี้ T. cruzi ระยะ amastigote มีกรแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกระทั้งภายในเซลล์เต็มไปด้วยระยะ amastigot T. cruzi ทำให้เซลล์ดูคล้ายกับมีการสร้างซิสต์ของ T. cruzi เรียกว่า pseudocyst ต่อมาโฮสต์เซลล์เหล่านี้จะแตกระยะ amastigote ออกมา ซึ่งบางตัวจะบุกรุกเซลล์ใหม่ต่อไป แต่มีบางตัวจะเจริญเติบโตเป็นระยะ leptomonad ( promastigote ) และ crithidial ( epimastigote ) ซึ่งทั้งสองระยะนี้จะพบอยู่ตามช่องว่างระหว่างเซลล์ ระยะ promastigote และ epimastigote จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นระยะ trypomastigote แล้วออกมาอาศัยอยู่ในกระแสเลือดต่อไป

วงจรชีวิตในแมลง

       เมื่อ Triatomine bugs ชนิดที่เป็นพาหะนำโรคนี้มาดูดเลือดผู้ป่วยหรือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังที่มี T. cruzi ในร่างกายเข้าไป แมลงนี้ก็จะเอาระยะ trypomastigote ของ T. cruzi เข้าไปด้วย ในลำไส้ส่วนกลางตอนปลายของแมลงระยะ trypomastigote ของ T. cruzi จะเปลี่ยนเป็นระยะ epimastigote และมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนต่อมา epimastigote จะเปลี่ยนเป็นระยะ metacyclic trypomastigote เข้าไปอาศัยอยู่บริเวณทวารหนักของแมลงและปนออกมากับอุจจาระของแมลง วงจรชีวิตของ T. cruzi ในแมลงพาหะเริ่มตั้งแต่แมลงรับเอาระยะ trypomastigote เข้าไปจกระทั้งพบระยะ metacyclic trypomastigote ที่ทวารหนักใช้เวลาประมาณ 6-15 วัน


ลักษณะอาการ

       โรคนี้พบได้ทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้ อชาติ อัตราผู้ป่วยที่เสียช๊วิตจะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ อาจเป็นเพราะเด็กไม่รู้จักดูแลสุขอนามัยของตนเองมากนัก ทำให้เชื้อที่มีอยู่ตามพื้นดินสามารถเข้าไปในร่างกายได้
       ผู้ป่วยโรคนี้จะมีระยะฟักตัว ( incubztion period ) ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังจากแมลงปล่อยปรสิตระยะติดต่อเข้าสู่คน วึ่งปรสิตจะถูกกินโดย macrophage หรือบุกรุกเข้าสู่เซลล์ไขมัน ( adipose tissue ) บริเวณที่ปรสิตเข้าไปจะการอักเสบโดยมีเม็ดเลือดขาวชนิด macrophage และ neutrophil มาแทรกซึม อาจจะมีผังผืดร่วมด้วย ท่อทางเดินน้ำเหลืองอุดตัน การบวมอักเสบที่บริเวณนี้เรียกว่า chagoma ( Neva and Brown, 1994 ) ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคยงมีการอักเสบ ถ้าบริเณที่ปรสิตเข้าไปอยู่ใกล้ตา อาจจะทำให้ต่อมน้ำเหลืองหน้าหู ( preauricular lymp node ) ข้างเดียวกันอักเสบ ซึ่งเรียกว่า Romana’s sign และโรคนี้มีอาการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ

       1. ระยะเฉียบพลัน ( acute stage ) ปรสิตมีการแบ่งตัวมกขึ้นทำให้โฮสต์เซลล์แตก ปรสิตจะไปตามกระแสเลือดหรือน้ำเหลือง บุกรุกเข้าสู่เซลล์ตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งต่อมาเซลล์จะถูกทำลายมากขึ้น ระยะนี้เริ่มจากผ่านระยะฟักตัวของโรคและจะเป็นอญู่นานหลายเดิน ระยะนี้มีอันตรายมาดโดยเฉพาะในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้ป่วยอาจเสียช๊วิตได้ ปรสิตอาจจะบุกรุกเข้าสู่เซลล์ในอวัยวะต่างๆ และเซลล์เหล่านี้ถูกทำลาย ในกระแสเลือดมีเม็ดเลือดขาวสูงขึ้นเล็กน้อย ต่อมน้ำเหลืองมีเม็ดเลือดขาวมาแทรกซึมและเพิ่มจำนวนมาก ตับและม้ามมีการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมสลาย มีไขมันแทรกซึม เยิ่อหุ้มสมองและสมองมีการอักเสบ

       2. ระยะเรื้อรัง ( chronic stage ) อาการของผู้ป่วยจะรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพของอวัยวะที่ปรสิตบุกรุก ส่วนมากไม่พบปรสิตในเลือด ซึ่งเกิดรอยโรคขึ้นที่ไม่สามารถกลบเป็นปกติได้หลังระยะเวลานานเป็น 10-20 ปี รูปแบบทางคลินิกที่พบบ่อย คือ โรคหัวใจ (Cardiac form) รูปแบบนี้ส่วนมากพบในผู้ใหญ่อายุ 20-40 ปี มีการเปลี่ยนคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ หัวใจวายและเสียชีวิตฉับพลัน โรคทางเดินอาหาร (Digetive form) มีการบีบรัดของลำไส้พิการ หลอดอาหารและลำไส้โต โรคแฝง (latent form) ไม่มีอาการของโรค ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือไม่พบอาการของหลอดอาหารหรือลำไส้จากการตรวจทางรังสี ในระยะเรื้อรังมีอาการพบบ่อยคือหัวใจโต จากการรักษาสมดุลระหว่างการนำคลื่นไฟฟ้าและกล้ามเนื้อหัวใจ สาเหตุอาจเกิดจากประสาทอัตโนมัติถูกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจ หรือภูมิคุ้มกันต่อตนเอง ส่วนทางเดินอาหารนั้น พบลำไส้ใหญ่พองตัวโดยเฉพาะพบบ่อยในส่วนของลำไส้ตรง สาเหตุจากการสูญเสียเส้นประสาทหล่อเลี้ยงและฮอร์โมนขาดสมดูลย์ ตัวปรสิตเองถึงแม้จะพบในเนื้อเยื่อในระยะโรคเรื้อรังเป็นจำนวนน้อยแต่ก็อาจเป็นสาเหตุของการทำลายเนื้อเยื่อได้


การวินิจฉัย

       การตรวจหา T. cruzi ในผู้ป่วยทางห้องปฏิบัติการโดยทั่วไปมีวิธีต่างๆ คือ

1. วิธีเจาะเลือด (blood) เจาะเลือดจากผู้ป่วยแล้วนำเลือดมาสเมียร์และย้อมสีตรวจปรสิตในระยะ trypomastigote วิธีนี้ไม่ค่อยได้ผลมากนัก เพราะว่า ในระยะที่อยู่ในเลือดจะไม่มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน ดังนั้นโอกาสที่จะตรวจพบจึงมีน้อยมาก โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเรื้อรัง

2. วิธีตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) วิธีนี้ได้ผลดีกว่าการเจาะเลือดตรวจ คือเจาะไขกระดูก ม้าม หรือเนื้อเยื่อจากบริเวณที่บวมอักเสบ (chagoma) แล้วนำมาสเมียร์และย้อมสีตรวจหาปรสิตในระยะ amastigote ที่อยู่ในเซลล์ของโฮสต์

3. วิธี xenodiagnosis เป็นวิธีที่นิยมกันมากในตรวจหาผู้ป่วย โดยเฉพาะในรายที่อยู่ในระยะเรื้อรัง วิธีการคือนำเอา Triatomine ที่เพาะเลี้ยงไว้และปราศจากปรสิตมาดูดเลือดจากผู้ป่วย แล้วนำแมลงนี้ไปเลี้ยงไว้ประมาณ 10-20 วัน จากนั้นจึงฆ่าและตรวจหาปรสิตระยะ epimastigote ในลำไส้ของแมลง หรือตรวจหาระยะ metacyclic trypomastigote ในอุจจาระของแมลง

4. วิธีวินิจฉัยทางน้ำเหลืองวิทยาและชีวโมเลกุล มีด้วยกันหลายวิธี ส่วนมากมักจะใช้การสำรวจทางระบาดวิทยา ได้แก่ precipitation tes, complement fixation test, enzyme-linked immunosorbent assay , polymerase chain reaction (PCR)


การรักษา
       ยาที่รักษา American Trypanosomiasis นั้นยังไม่ค่อยจะได้ผลดีมากนัก โดยเฉพาะในรายที่ปรสิตบุกรุกเข้าไปอยู่ในเซลล์ตามอวัยวะที่สำคัญ
       ยาที่ใช้เช่น suramin, diamidine, Bayer 7602 ซึ่งใช้ได้ผลในระยะที่ปรสิตอยู่นอกโฮสต์เซลล์ ยา nifurtimox และ benznidazole ช่วยลดอาการรุนแรงของระยะเฉียบพลัน แต่ไม่รักษาโรคนี้ระยะเรื้อรัง อวัยวะต่างๆ ที่มีพยาธิสภาพเปลี่ยนไป เช่น บวมโตผิดปกติต้องอาศัยศัลยกรรมตบแต่ง ในระยะเฉียบพลันของโรคนี้จะมีอันตรายมาก ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 10 จะเสียชีวิต การพยากรณ์โรคไม่ค่อยดีนักเมื่อปรสิตบุกรุกเข้าไปอยู่และทำลายเซลล์ในอวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ผู้ป่วยด้วยโรคนี้บางรายจะอยู่ในระยะเรื้อรัง ซึ่งจะไม่ปรากฏอาการผิดปกติเป็นระยะเวลา 10 -30 ปี หลังจากที่เอาปรสิตเข้าไป ต่อมาปรากฏอาการทำให้การรักษาไม่ทันต่อเหตุการณ์ ในเด็กอาการของโรคจะจะรุนแรงและมีอันตรายมากกว่าในผู้ใหญ่

การป้องกัน

       การป้องกันและควบคุมโรคในทางปฏิบัติทำได้ลำบาก ทั้งนี้เพราะมีสัตว์เป็นโฮสต์สะสมเชื้อ ซึ่งจะคอยแพร่เข้าสู่คน สำหรับ Triatomine bugs ที่เป็นแมลงพาหะนำโรคก็กำจัดได้ยาก เพราะบางครั้งตัวแมลงนี้จะอาศัยอยู่ตามรังของสัตว์ที่เป็นโฮสต์สะสมเชื้อ

วิธีการที่ใช้ป้องกันและควบคุมได้แก่

ก. ทำลายแมลงที่ตัวนำโดยการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง BHC (Benzene hexacloride)ตามที่พักอาศัยหรือตามรังของสัตว์ที่เป็นโฮสต์สะสมเชื้อ

ข. กำจัดสัตว์ที่เป็นโฮสต์สะสมเชื้อ

ค. ถ้าเป็นไปได้ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้มาก ควรจะเผ่าหรือทำลายบ้านเรือนหรือที่พักอาศัยที่มีแมลง Triatomine bugs อาศัยอยู่ แล้วปลูกสร้างบ้านเรือน ใหม่ โดยใช้วัสดุที่แมลงนี้ไม่สามารถใช้เป็นที่หลบซ่อนอาศัอยู่ได้

ง. ตรวจเลือดที่รับบริจาคและฆ่าปรสิตในเลือดก่อนนำเลือดไปใช้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น