วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคที่เกิดจากอะมีบา

1. บิดมีตัว (Amoebiasis)
       โรคบิดมีตัวเกิดจากเชื้ออะมีบา (Amoebic dysentery หรือ Amebic dysentery หรือ Amoebiasis หรือ Amebiasis) เป็นโรคบิดชนิดหนึ่งจากลำไส้ติดเชื้อบิดอะมีบา ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียวที่เป็นปรสิต มีชื่อว่า Entamoeba histolytica

สาเหตุ
       เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ได้แก่ เชื้ออะมีบา (Entamoeba Histolytica) ซึ่งทำให้เกิดโรคบิดมีตัว

การระบาดวิทยา
       พบบ่อยในประเทศเขตร้อนที่ยังมีการสาธารณสุขไม่ดีเพียงพอ หรือในแหล่งชุมชนที่อาศัยอยู่อย่างแออัด เช่น ในค่ายผู้อพยพ หรือในคนที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ทั่วโลกพบโรคบิดมีตัวได้ประมาณ 10% ของประชากร โดยพบสูงประมาณ 50% ของประชากรในบางท้องถิ่นของอเมริกากลาง แอฟริกา และเอเชียและในบางท้องถิ่น เช่น ในบางท้องถิ่นของบราซิล พบผู้เป็นพาหะโรคนี้ได้ประมาณ 11% ของประชากร

การติดต่อ
       โรคบิดสามารถติดต่อได้โดยการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่มีเชื้อบิดอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ร่างกายแล้วก่อให้เกิดอาการโดยโรคบิดไม่มีตัวจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1-7 วัน ส่วนโรคบิดมีตัวจะมีระยะฟักตัว

นานกว่าประมาณ 2-4 สัปดาห์ เชื้อบิดเมื่อเข้าสู่ร่างกายของคนแล้วจะเจริญเติบโต  และเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วที่ลำไส้ใหญ่  แทรกตัวทำลายเนื้อเยื่อและผนังลำไส้ใหญ่แล้วแพร่กระจายเชื้อออกมากับอุจจาระ ไปปนเปื้อนกับอาหารและน้ำด้วยมือที่ไม่สะอาด หรือโดยการนำอุจจาระมารดผัก แล้วแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้



วงจรชีวิต

วงจรชีวิตของ Entamoeba histolytica
ที่มา http://www.cdc.gov/dpdx/amebiasis/index.html (13 Jul 2014)

Cysts จะขับออกทางอุจาระ  การติดเชื้อ Entamoeba histolytica โดยการกินซีสตัวแก่ mature cysts  ในอาหาร น้ำ หรือมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรคนี้ เชื้อจะกลายเป็นตัวอ่อน ในลำไส้และกลายเป็นระยะ trophozoites ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปยังลำไส้ใหญ่  ตัวเชื้อระยะ trophozoites จะแบ่งตัวโดย binary fission และทำให้เกิด cysts ซึ่งจะบับออกทางอุจาระ เนื่องจากระยะ cyst จะมีเปลือกหุ้มทำให้มันทนทานต่อสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ และสามารถติดต่อสู่คนได้ ส่วนตัวเชื้อระยะ trophozoite เมื่อออกสู่สิ่งแวดล้อมจะตายเร็ว แม้ว่าเรารับประทานเข้าไป กรดในกระเพาะก็จะทำลายตัวเชื้อ เชื้ออาจจะอยู่ในลำไส้โดยที่ไม่เกิดอาการและสามารถแพร่เชื้อออกทางอุจจาระ( : non-invasive infection) แต่ก็มีผู้ป่วยบางคนที่เชื้อลุกลามเข้าผนังลำไส้ทำให้เกิดลำไส้อักเสบ( :intestinal disease), และอาจจะทำให้เกิดโรคที่ตับ สมอง และปอด  ( :extra-intestinal disease)

       ระยะที่เชื้อเป็นถุงหุ้ม หรือ ซีสต์ (Cyst) ซึ่งจะติดต่อจากคนสู่คน หรือจากอุจจาระเข้าสู่ปากได้ แต่ ระยะนี้ไม่สามารถก่อให้เกิดอาการได้
       ระยะที่เป็นตัว ออกจากซีสต์แล้ว ที่เรียกว่า Trophozoites คือ เชื้อระยะที่สามารถก่ออาการได้เมื่ออยู่ในคน
       เมื่ออยู่ภายนอกร่างกาย เชื้อระยะ Trophozoites จะตาย ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ แต่เชื้อระยะเป็นซีสต์ จะตายต่อเมื่ออยู่ในภาวะแห้งแล้ง ไม่มีน้ำ โดยเชื้อระยะเป็นซีสต์ จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้นอกร่างกายนานประมาณ 2-3 เดือนเมื่ออยู่ในที่มี ความชื้น อุจจาระ น้ำ และในอาหาร
       เชื้อบิดมีตัวทั้ง 2 ระยะ ไม่สามารถฆ่าให้ตายด้วยสารคลอรีน (Chlorine) ที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ แต่ฆ่าตายได้ด้วย 2% ทิงเจอร์ไอโอดีน (Tincture of iodine) และน้ำต้มอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส (Celsius) ขึ้นไป

ระยะ Cyst ของ E. histolytica
ระยะ Trophozoites of E. histolytica
อาการ

  1. ไม่มีอาการใดๆ เลย แต่จะรู้สึกไม่สบายท้อง ถ้าไปตรวจจะพบอะมีบาในอุจจาระ
  2. มีอาการชนิดเฉียบพลัน ปวดบิด ถ่ายอุจจาระเหลว อุจจาระมีกลิ่นคล้ายหัวกุ้งเน่า อาการไม่แรงเท่าบิดไม่มีตัว ถ้าผู้ป่วยต้านทานโรคได้น้อย อาจจะมีไข้สูงและถ่ายเป็นมูกเลือดมาก
  3. มีอาการชนิดเรื้อรัง เป็นผลจากบิดชนิดเฉียบพลัน แล้วรับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง อะมีบาจึงตายไม่หมด ทำให้อาการไม่หายขาด และเป็นไปเรื่อยๆ
  4. โรคแทรกซ้อน ลำไส้เกิดการทะลุ เกิดแผลที่ลำไส้ใหญ่ เป็นฝีที่ตับ เพราะอะมีบาเข้าไปที่กระแสเลือดและไปยังตับอักเสบและเป็นฝี ฝีนี้อาจแตกทะลุไปยังปอด ทำให้เป็นฝีที่ปอดด้วย

การวินิจฉัย
       แพทย์วินิจฉัยโรคบิดมีตัวได้จาก ประวัติอาการ ถิ่นที่อยู่อาศัย ประวัติการเดินทาง การทำ งาน การตรวจร่างกาย การตรวจอุจจาระ การเพาะเชื้อจากอุจจาระ การตรวจหาสารก่อภูมิต้าน ทาน (Antigen) ของเชื้อจากอุจจาระ การตรวจเลือดดูสารภูมิต้านทาน (Antibody) และอาจมีการตรวจสืบค้นอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับ อาการผู้ป่วย ความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจภาพช่องท้องด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และหรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

การรักษา
       Metronidazole ขนาดที่ใช้ 400-800 มก. วันละ 3 ครั้งนาน 5 วัน

       Tinidazole รับประทานครั้งเดียวพร้อมอาหาร หรือวันละ 1ครั้งพร้อมอาหาร เป็นเวลา 3-5 วัน

ผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อน
       โรคบิดมีตัว ที่เกิดกับลำไส้ มักไม่รุนแรง รักษาได้หายภายในระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ ภายหลังการรักษา เมื่อกลับไปสัมผัสโรคอีก ก็มีโอกาสติดเชื้อครั้งใหม่ได้อีก 
       ในผู้ป่วยที่เกิดฝีหนองตามอวัยวะต่างๆนอกลำไส้ อาการมักรุนแรงกว่า และอาจเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดฝีหนองในสมอง (ฝีสมอง) ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับ สายพันธุ์ย่อยของเชื้อ ปริมาณเชื้อที่ร่างกายได้รับ และพื้นฐานสุขภาพร่างกายผู้ป่วย 
       ผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคบิดมีตัว พบได้น้อย ที่อาจพบได้ เช่น เชื้อแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต และก่อให้เกิดการอักเสบติดเชื้อเป็นฝีหนองของอวัยวะต่างๆดังกล่าวแล้ว หรือเชื้อในลำไส้ก่อการอักเสบเรื้อรัง จากไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ถูกต้อง จนเกิดเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดภาวะลำไส้อุดตันได้ (ปวดท้องมาก ไม่ถ่ายอุจจาระ ไม่ผายลม คลื่นไส้ อาเจียนมาก) นอกจากนั้น การเป็นบิดเรื้อรัง มักก่อให้เกิดภาวะขาดอาหารหรือทุพโภชนาการ ภาวะซีด ผอมลงหรือน้ำหนักลด และอ่อนเพลีย เป็นต้น



การดูแลรักษา
       การดูแลตนเอง ที่สำคัญ คือ ควรรีบพบแพทย์เสมอเมื่อมีอุจจาระเป็นมูกเลือด เพื่อการวินิจฉัยหาสาเหตุ และได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ หลังพบแพทย์แล้ว การดูแลตนเองเมื่อเป็นบิดมีตัว คือ การปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ และกินยาต่างๆให้ครบถ้วน ถูกต้อง และพบแพทย์ตามนัดเสมอ นอกจากนั้น คือ 
         - รักษาสุขอนามัยพื้นฐานอย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสติดโรคซ้ำ และลดโอกาสแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น 
         - ช่วงมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ควรกินอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสจืด
       - รักษาความสะอาดอาหารและน้ำดื่มเสมอ กินแต่อาหารปรุงสุกทั่วถึง ปรุงใหม่ๆ ระ มัดระวังการกินน้ำแข็ง และผัก ผลไม้ต้องล้างให้สะอาดก่อนบริโภค   
         - ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนกินอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ 
       - พบแพทย์ก่อนนัดเมื่อ มีอาการต่างๆผิดปกติไปจากเดิม และหรืออาการต่างๆเลวลง เช่น ถ่ายเป็นมูกเลือดมากขึ้น ปวดท้องมากขึ้น หรือ ปวดศีรษะ หรือไอ มากขึ้น ไข้ไม่ลง หรือกลับมามีไข้อีก และหรือเมื่อกังวลในอาการ

การป้องกัน

       ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคบิดมีตัว ดังนั้น การป้องกันโรคบิดมีตัว โดยทั่วไป คือ
             - รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
             - ล้างมือเสมอโดยเฉพาะก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
             - ล้าง ผัก ผลไม้ ให้สะอาดก่อนบริโภค
             - รักษาความสะอาดในทุกขั้นตอนของการปรุงอาหาร
             - น้ำดื่ม น้ำใช้ ต้องสะอาด อาหารต้องปรุงสุกทั่วถึง น้ำแข็งต้องสะอาด
             - ระมัดระวัง อาหาร น้ำดื่ม ที่ขายข้างทาง
             - ระมัดระวัง เรื่องอาหารและน้ำดื่มเป็นพิเศษ เมื่อไปยังถิ่นที่ยังขาดสุขอนามัย
             - ควรใช้ถุงยางอนามัย (ถุงยางอนามัยชาย) เมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
             - มีส่วนร่วมในชุมชน ในการช่วยกันรักษาสุขอนามัยชุมชน และถ่ายอุจจาระในส้วมเสมอ

2 ความคิดเห็น:

  1. อัยย๊ะ!!!! สวยหนัด ใครทำนิ๊
    อยากแลหน้าคนทำจัง

    ตอบลบ
  2. คืองามแท้ว่ะ ไผเฮ็ดว่ะ
    มีสาระนะ

    ตอบลบ