วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคที่เกิดจากแฟลกเจลเลต - ทริโคโมนิเอซิส

2. ทริโคโมนิเอซิสของอวัยวะสืบพันธุ์ Trichomoniasis




สาเหตุ
เชื้อทริโคโมแนส วาจินาลิส จะเป็นชนิดที่อาศัยอยู่ในเฉพาะในช่องคลอดและท่อทางเดินปัสสาวะ
(ต่างกับชนิด ทริโคโมแนส โฮมินิส ซึ่งจะเป็นชนิดที่อาศัยเฉพาะในลำไส้ ) โดยปกติจะตายได้ในช่อง
คลอดที่มีภาวะเป็นกรด (pH 3.8-4.4)

การติดต่อ
จากการร่วมเพศ หรือการใช้เสื้อผ้าปะปนกัน

วงจรชีวิต
วงจรชีวิตของTrichomonas vaginalis
ที่มา: 
http://www.cdc.gov/dpdx/trichomoniasis/ (12 Jul 2014)
       Trichomonas vaginalis อาศัยอยู่ในช่องคลอดส่วนล่างของสตรี และท่อปัสสาวะและต่อมลูกหมากในผู้ชาย (1) , มันแบ่งตัวแบบ binary fission (2) . พยาธิตัวนี้ไม่มีรูปแบบ cyst form, ไม่สามารถอยู่นอกร่างกายได้ Trichomonas vaginalis ติดต่อโดยทางเพศสัมพันธุ์ จากคนสู่คนเท่านั้น (3)

       Trichomonas vaginalis มีแต่ระยะ trophozoite เท่านั้น (ไม่มีระยะที่เป็น cyst) ขนาดยาว 7-23 mm เฉลี่ย13 mm กว้าง 5-12 mm เฉลี่ย 7 mm (ขนาดก็พอๆกับเม็ดเลือดขาว) มีเยื่อพัดโบกข้างตัว (undulating membrane) ช่วยในการเคลื่อนที่

อาการของการติดเชื้อทริโคโมแนส

       ในผู้ที่ติดโรคนี้ ประมาณ 70% มักจะไม่มีอาการที่ผิดปกติ นั่นคือมีเพียงประมาณ 30% ของผู้ที่ติดเชื้อที่จะปรากฏอาการให้เห็น อาการที่พบ อาจเป็นแค่เพียงความรู้สึกระคายเคืองเล็กน้อยที่อวัยวะเพศ หรือมีอาการอักเสบอย่างรุนแรงปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด การแสดงอาการของโรคอาจพบได้หลังจากที่มีการติดโรคแล้วตั้งแต่ 5 วันจนถึง 1 เดือนอาการที่เกิดขึ้นอาจเป็นๆหายๆได้
       ในผู้ชายที่ติดเชื้อทริโคโมแนส อาการที่พบได้แก่ อาการคัน หรือรู้สึกระคายเคืองอวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบ หรือมีสารคัดหลั่งไหลออกจากอวัยวะเพศ (ปากท่อปัสสาวะ)ได้ในผู้หญิงที่ติดเชื้อทริโคโมแนส อาการที่พบได้แก่ การที่มีอาการคัน แสบ แดง และเจ็บที่อวัยวะเพศ ในบางรายอาจมีอาการปัสสาวะแสบขัด หรือมีตกขาวผิดปกติ เช่น ตกขาวสีเหลือง หรือสีเขียว หรือ มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น
       ดังนั้นการมีเชื้อทริโคโมแนสในร่างกาย จึงอาจทำให้เกิดความไม่พึงพอใจขณะที่มีเพศ สัมพันธ์ได้ทั้งสองฝ่าย


วินิจฉัยการติดเชื้อทริโคโมแนส

       การวินิจฉัยโรคการติดเชื้อทริโคโมแนสนั้น ต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ แพทย์จะทำการตรวจภายในและทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม โดยการนำตกขาวไปตรวจ หาตัวพยาธิ การวินิจฉัยจากอาการที่เป็นเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่อาจให้การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องได้


การรักษาการติดเชื้อทริโคโมแนส

       การติดเชื้อทริโคโมแนสนั้น สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยารับประทานเพียงครั้งเดียว เช่น ยา Metronidazole หรือ Tinidazole และควรงดดื่มแอลกอฮอล์เมื่อกินยาอย่างน้อยประ มาณ 3 วันหลังกินยาครบ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ (เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หัวใจเต้นผิดปกติ ปวดศีรษะ และความดันโลหิตสูง) และในกรณีที่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เพราะยาอาจก่อผลข้างเคียงรุนแรงต่อทารกในครรภ์ได้
       ผู้ที่ได้รับการรักษาแล้ว มีโอกาสในการติดเชื้อทริโคโมแนสซ้ำได้อีก โดยพบว่าประมาณ 1 ใน 5 คนจะติดเชื้อซ้ำอีกครั้งภายใน 3 เดือน ดังนั้นการรักษาคู่นอนของผู้ที่ติดโรคจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกระทำ และควรงดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังกินยา หากมีอา การผิดปกติเกิดขึ้นอีกครั้งควรรีบพบแพทย์
       เมื่อติดเชื้อทริโคโมแนสแล้วและไม่ได้รักษา การติดเชื้อดังกล่าวอาจคงอยู่ในร่างกายได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี


ภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงที่เกิดจากการติดเชื้อทริโคโมแนส

       การติดเชื้อทริโคโมแนสนั้น เป็นการเพิ่มความเสี่ยงอย่างหนึ่งในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคอื่นๆ ทั้งนี้เพราะเชื้อทริโคโมแนส ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะเพศ จึงทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อและต่อการแพร่เชื้อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ เป็นต้น
       ในกรณีที่ตั้งครรภ์ การติดเชื้อทริโคโมแนส เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่จะทำให้มีโอกาสในการคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้น และมีแนวโน้มว่าทารกที่คลอดออกมามักจะมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ที่ควรเป็น คือน้อยกว่า 2,500 กรัม


การดูแลตนเองเมื่อสงสัยว่าจะมีการติดเชื้อทริโคโมแนส

       ในผู้หญิงเมื่อมีตกขาวผิดปกติ หรือในผู้ชายเมื่อรู้สึกระคายเคืองที่อวัยวะเพศหรือรู้สึกแสบขัดเวลาปัสสาวะ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะ สม และเมื่อทราบว่าตนเองติดเชื้อทริโคโมแนสแล้ว ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆด้วย เช่น การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ นอกจากนี้ควรนำคู่นอนมารับการตรวจรักษาที่เหมาะสม และงดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการจะหายหรืออย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังกินยา


วิธีป้องกันการติดเชื้อทริโคโมแนส

       การใช้ถุงยางอนามัยชนิด ลาเทก (Latex)อย่างถูกวิธีจะช่วยลดการแพร่ของเชื้อทริโคโมแนสได้ แต่ก็ไม่อาจป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ การงดมีเพศสัมพันธ์เป็นการป้องกันที่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม การมีเพศสัมพันธ์ที่ยั่งยืนต่อกันนั้น ก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ทริโคโมแนสและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆลงได้อย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น