โรคบาลานติดิเอซิส (Balantidiasis)
โปรโตซัวในกลุ่มซิลิเอตกลุ่มนี้อยู่ใน phylum Ciliophora, จัดอยู่ใน class Kinetofragminophorea, subclass Vestibuliferia, order Trichostomatida, suder Trichostomatina
Balantidium coli เป็นโปรโตซัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในคน
Trophozoites เป็นรูปไข่ปกคลุมด้วยขนสั้นมีความยาวใกล้เคียงกัน มีขนาด 50-200x40-70 ไมโครเมตร ที่ข้างหนึ่งของแกนกลางลำตัวตามยาวมีร่องเข้าไปรูปกรวยคว่ำ ลึกโค้งเล็กน้อย ระยะโทรโฟซอยต์กินอาหารทางร่องปาก คือปาก (cytostoma ) ปลายด้านหางกลมกว้าง cytoplasm มี food vacuoles จำนวนมาก และมี contractile vacuole หนึ่งหรือ สองอัน ที่ปลายด้านหางมีรูเปิดเล็กๆเรียก cytopyge อยู่ภายในเซลล์เยื่อหุ้มซึ่งใช้ขับถ่ายของเหลือค้าง จาก food vacuoles Balantidium coli มี 2 nuclei เห็นชัดเจน ซึ่งประกอบไปด้วย นิวเคลียสใหญ่ (macronucleus) รูปร่างคล้ายถั่ว นิวเคลียสเล็ก (micronucleus) อยู่ในโค้งด้านในของนิวเคลียสใหญ่ มีลักษณะเป็นก้นกลมติสีเข้มมาก เชื่อว่ามีหน้าทีเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวควบคุมเกี่ยวกับการเจริญเติบโต การแบ่งตัวแบบไม่อาศัยเพศ สำหรับไมโครนิวเคลียสมีขนาดเล็ก มีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการแบ่งตัวแบบอาศัยเพศ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม
วงจรชีวิต
วงจรชีวิตของ Balantidiasis ที่มา : http://www.cdc.gov/dpdx/images/balantidiasis/Bcoli_lifecycle.gif |
นิเวศวิทยา
พบได้ทั่วโลกโดยเฉพาะในเขตร้อน ซึ่งสามารถพบได้ในคน ลิง และหมู แต่พบมากที่สุดในหมู B. coli อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของคน หมู และลิงการสืบพันธ์ของ B. coli เกิดโดยขบวนการแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสอง (binary fission)
1. B. coli ติดต่อสู่คนและสุกรโดยการกินปรสิตระยะซีสต์ ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม
2. เมื่อผ่านมาถึงลำไส้เล็ก ผนังซีสต์จจะถูกย่อยโดยน้ำย่อยในลำไส้เล็ก ปรสิตระยะโทรโฟซอยต์จะเคลื่อนที่ลงไปอาศัยอยู่ในบริเวณลำไส้ใหญ่
3. การเจริญเติบโตและแบ่งตัวของโทรโฟซอยต์เกิดขึ้นภายในทางเดินอาหารบริเวณลำไส้ใหญ่ ปรสิตอาศัยอยู่เฉพาะในทางเดินอาหารบริเวณลำไส้ใหญ่อาจทำลายหรือไม่ทำลายเซล์บุลำไส้ก็ได้เมื่อมีการแบ่งตัวไปสักระยะหนึ่งโทรโฟซอยต์บางส่านจะแปรสภาพเป็นซีสต์ปะปนออกมากับอุจจาระ
ทำให้เกิดโรคในคนเรียกว่า balantidiasis หรือ balantidial dysentery; เชื้อไชผนังลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดแผล, แผลโดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายแผลที่เกิดจากบิดมีตัว E. histolytica และอาจก่อให้เกิดฝีใต้ผิวลำไส้ใหญ่ (mucosa และ submucosa) บางครั้งแผลทะลุถึงชั้นกล้ามเนื้อ;แผลอาจกลมหรือรีหรือไม่แน่นอน,มีขอบนูน, ใต้แผลบุด้วยหนองและเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว,ปากแผลอาจมีมูกเขียวปกคลุม
กลไกการไชผนังลำไส้โดยเชื้อไม่ทราบชัด เชื้อมีเอนไซม์คล้าย hyaluroidase; คนค่อนข้างจะมีความต้านทานต่อการติดเชื้อ; มีปัจจัยหลายอย่างที่ลดความต้านทานต่อเชื้อลง เช่น ขาดอาหาร(อาหารที่มีโปรตีนต่ำ แป้งสูง) สภาวะการณ์ของแบคทีเรียในลำไส้, โรคที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ,ภาวะกรดในกระต่(achlorhydria), โรคพิษสุราเรื้อรัง, เป็นต้น
B. coli ระยะ trophozoite ที่เกาะกับผิวของเยื่อบุลำไส้ใหญ่จะปล่อยเอนไซม์ hyaluronidase ทำลายเซลล์เยื่อบุลำไส้ แล้วบุกรุกเข้าไปทำให้เกิดแผล การเคลื่อนที่ของเชื้อร่วมกับการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนทำให้แผลขยายกว้างขึ้นจนถึงชั้น submucosa ลักษณะแผลคล้ายแผลบิดที่ลำไส้ คือปากแผลแคบฐานแผลกว้าง (flask – shaped ulcer) เยื่อบุลำไส้ที่เน่าตายจะลอกหลุด ในรายที่การติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้ลำไส้ทะลุเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ลักษณะทางพยาธิวิทยาของแผลที่ลำไส้ประกอบด้วยเซลล์อักเสบจำพวกลิมโฟซัยต์และอีโอสิโนฟิล แต่ไม่พบนิวโทรฟิล พบ B. coli ที่ขอบแผลได้
บางครั้งเชื้อลุกลามออกนอกลำไส้ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่อวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ตับ ปอด เยื่อหุ้มปอด ไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด และมดลูก
บางครั้งเชื้อลุกลามออกนอกลำไส้ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่อวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ตับ ปอด เยื่อหุ้มปอด ไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด และมดลูก
บางครั้งเชื้ออาจจะเข้าสู่ไส้ติ่งทำให้เกิดไส้ติ่งอักเสบ แต่โดยปกติแล้วแผลมักเกิดที่บริเวณ rectosigmoid; แผลนอกลำไส้เกิดน้อยมากและมักจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากลำไส้ทะลุ
คนที่ได้รับเชื้อและติดเชื้อแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ 1.)ไม่มีอาการ 2.) เป็นโรคเฉียบพลัน 3.)เป็นโรคเรื้อรัง กลุ่มแรกมักพบในเขตที่มีโรคนี้ชุกชุม เช่น นิวกินี กลุ่ม 2 มีอาการปวดท้องคลื่นไส้อาเจียนและปวดเบ่ง ไม่ค่อยมีไข้ อาจถ่ายอุจจาระหลายครั้งและอุจจาระมีมูกเลือด กลุ่มเรื้อรังมีท้องร่วงเป็นๆหายๆ สลับกับท้องผูก มีอาการปวดตะคริว
อาการ
B. coli ทำให้เกิดโรค balantidiasis ในระยะเฉียบพลันผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย อุจจาระเป็นมูกปนเลือด ร่วมกับอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และปวดเบ่ง ในรายที่ท้องเสียเรื้อรังจะมีน้ำหนักลดลงมากและเกิดภาวะขาดน้ำ ในรายที่เป็นพาหะ (carrier) จะไม่มีอาการ
ตรวจหาโทรโฟชอยต์หรือซิสต์ในอุจจาระและควรทำทันทีหลังจากเก็บอุจจาระได้ ซึ่งในอุจจาระอาจพบผลึกที่เรียกว่า Charcot-Leyden หรือวินิจฉัยโดยใช้กล้อง sigmooidoscope ตรวจดูแผลและขูดเอาเนื้อเยื่อลำไส้มาตรวจหาโทรโฟซอยต์ การตรวจหาเชื้อ B. coli จากอุจจาระเป็นวิธีวินิจฉัยที่ใช้กันโดยทั่วไป การย้อมสีถาวรอาจจะทำให้วินิจฉัยยาก เพราะเชื้อนี้มีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อย้อมสีแล้วจะทำให้ติดสีมืด จึงไม่สามารถมองเห็นลักษณะต่างๆภายในตัวเชื้อได้ดีเท่าที่ควร บางครั้งผู้ที่ไม่มีความชำนาญมักจะสับสนระหว่าง B. coil กับไข่ของหนอนพยาธิตัวอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่สามารถมองเห็น Cillia ของ B. coil
การรักษา
ใช้ยา tetracycline 500 มก. กินวันละ 4 เวลา นาน 10 วันหรืออาจใช้diiodohydroxyquin (diodoquinol) ขนาด 650 มก. กินวันละ 3 เวลา นาน 21 วัน ยา mmetronidazole –okf 400-600 มก. กินวันละ 3 เวลา นาน 5 วัน
การป้องกัน
เหมือนการป้องกัน E. histolytica โดยเน้นให้การศึกษาในคนที่เป็นพาหะนำโรค และการควบคุมสุขาภิบาล โรคนี้ป้องกันได้โดยต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี บางคนติดเชื้อได้จากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่มีระยะซิสต์ของเชื้อโปรโตซัวปะปนอยู่ การเลี้ยงหมู ควรเลี้ยงด้วยอาหารหมูที่สะอาด ควรต้มเศษอาหารหรือผักตบชวาที่เลี้ยงหมูให้สุก รวมทั้งให้การรักษาผู้ป่วยให้หายขาด